วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

                                                           ข้อมูลจากวิกีพีเดียทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร?

ขณะนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นฝ่ายบริโภคเทคโนโลยี ไม่ใช่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้รับที่ต้องคอยรอผู้ ผลิต ต้องตามฟัง ตามดูว่า ผู้ผลิตจะผลิตอะไรใหม่ๆขึ้นมา เพื่อจะรับเอา จึงเป็นผู้ถูกกำหนด ทั้งหมดนี้ก็เพราะเราเป็นผู้ บริโภคของที่ผู้อื่นผลิตและเราผลิตเองไม่ได้
การเสพบริโภค คือ กินนอนสบาย ใช้ของสำเร็จ ไม่ต้องทำอะไร คนที่ชอบความสุขจากการเสพบริโภคก็คือ คนที่อยากได้รับการบำรุงบำเรอโดยตัวเองไม่ต้องทำอะไร ส่วนคนที่เป็นนักผลิต จะมีจิตใจเข็มแข็ง ชอบทำ และมีความสุขจากการกระทำ จากการสร้างสรรค์ ดังนั้น หากถามเด็กไทยว่า “เรามีนิสัยรักการผลิตหรือไม่ มีความเข้มแข็งทางปัญญา คือ ความใฝ่รู้ ถ้าอยากจะรู้อะไร ก็หาความรู้ในเรื่องนั้นอย่างอุทิศชีวิตให้เลย เด็กไทยของเรามีนิสัยอย่างนี้หรือไม่” สาระของการศึกษาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงมิใช่แค่การรู้จักทำและรู้จักใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่อยู่ที่การพัฒนาความใฝ่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งความคิดสร้างสรรค์และฝีมือสร้างสรรค์ กล่าวคือ ความใฝ่ปรารถนาที่จะแก้ปัญหาและทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคมอย่างแรงกล้า ที่ทำให้หาทางและเพียรพยายามนำเอาความรู้ที่ดีที่สุด มาจัดสรรประดิษฐ์นวัตกรรม ที่จะบัน ดาลผลให้สำเร็จประโยชน์สุขนั้น

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเนื้อหาสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีไว้อย่างไร?

การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการทำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
  • การดำรงชีวิตและครอบครัว เป็นสาระเกี่ยวกับการทำงานในชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ในสภาพเศรษฐกิจที่พอเพียง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นการปฏิบัติจริง จนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลสำเร็จของงาน เพื่อให้ค้นพบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง
  • การออกแบบและเทคโนโลยี เป็นสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของ เครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสาร การค้น หาข้อมูล การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน คุณค่าและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • การอาชีพ เป็นสาระที่เกี่ยวข้องกับทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพ เห็นความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ

เด็กจะได้รับประโยชน์อะไรจากการงานอาชีพและเทคโนโลยี?

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดคุณภาพผู้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไว้ ดังนี้
  • เข้าใจวิธีการทำงาน เพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และส่วนรวม ใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือถูกต้องตรงกับลักษณะงาน มีทักษะกระบวนการทำงาน มีลักษณะนิสัยการทำงานที่กระตือรือร้น ตรงเวลา ประหยัด ปลอดภัย สะอาด รอบ คอบ และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • เข้าใจประโยชน์ของสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน มีความคิดในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในการสร้างของเล่น-ของใช้อย่างง่าย โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยี ได้แก่ กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง 2 มิติ ลงมือสร้างและประเมินผล เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างถูกวิธี เลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ และมีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ
  • เข้าใจและมีทักษะการค้นหาข้อมูลอย่างมีขั้นตอน การนำเสนอข้อมูลในลักษณะต่างๆ และวิธีดูแลรักษาอุปกรณ์เทค โนโลยีสารสนเทศ

ครูสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีให้ลูกอย่างไร?

  • ฝึกฝนทักษะการทำงาน มุ่งเน้นการทำงานในชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม ที่ว่าด้วยงานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ งานธุรกิจ และงานอื่นๆ ฝึกวิธีการทำงานด้วยตนเอง ตั้งแต่การวิเคราะห์งาน การวางแผนทำงาน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลการทำงาน ทั้งทำงานเป็นรายบุคคลและทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เด็กสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ด้วยการรู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีทักษะในการฟัง-พูด มีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน สามารถสรุปผลและนำเสนอรายงาน ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้
    • การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง มุ่งเน้นการฝึกทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทำงานให้เกิดผลอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวน การทำงาน ด้วยความสะอาด รอบคอบ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงาน และเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของงาน เริ่มจากการแต่งกาย การเก็บของใช้ การหยิบจับและใช้ของใช้ส่วนตัว การจัด เตรียมอุปกรณ์การเรียน การทำความสะอาดรองเท้า กระเป๋านักเรียน การทำความสะอาดห้องเรียน การจัดโต๊ะ ตู้ ชั้นในห้อง เรียน
    • การทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว เน้นบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบงานบ้านของสมาชิกในบ้าน การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน มีความกระตือรือร้น ตรงเวลา สามารถจัดสรรเวลาต่างๆให้สมดุลได้ ได้แก่ การจัด วาง เก็บเสื้อผ้า/รองเท้า การเลือกใช้เสื้อผ้า การช่วยครอบครัวเตรียม ประกอบอาหาร การล้างจาน การปัดกวาด เช็ดถูบ้านเรือน เป็นต้น
  • เสร้างนิสัยการเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาข้อมูลความรู้ต่างๆ ด้วยการศึกษาค้นคว้า การรวบ รวม การสังเกต การสำรวจ และการบันทึก จัดลำดับความคิดหรือจินตนาการอย่างเป็นขั้นตอน นำไปสู่การวางแผน เกิดความคิด หาวิธีการแก้ปัญหา รู้จักสังเกต วิเคราะห์ สร้างทางเลือก และประเมินทางเลือก เพื่ออธิบายและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้า ใจ เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการแก้ปัญหาและสนองความต้องการอย่างสร้างสรรค์ โดยนำความ รู้มาใช้กับกระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการ หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ดังตัวอย่างกิจกรรมต่อไปนี้
    • การศึกษาสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ถูกสร้างมาให้มีรูปร่างแตกต่างกัน ตามหน้าที่ใช้สอย และฝึกฝนการใช้ให้ถูกวิธี ปลอดภัยต่อการทำงาน จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และถูกต้อง เช่น แปรงสีฟัน หม้อหุงข้าว กรร ไกร ปากกา ดินสอ ฯลฯ
    • การสร้างของเล่นหรือของใช้อย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่กำหนดปัญหาหรือความต้องการ รวบรวมข้อมูล ออกแบบ ถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๒ มิติ ๓ มิติ ก่อนลงมือสร้างและประเมินผล รวมถึงการนำสิ่งของกลับมาใช้ซ้ำ ลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างเอกสารเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น บัตรอวยพร รายงาน นิทานประกอบภาพ เป็นต้น
    • นำเสนอข้อมูลหลากหลายวิธี หลากหลายลักษณะ เช่น นำเสนอหน้าชั้นเรียน จัดทำเอกสาร รายงาน ป้ายประกาศ สื่อคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  • จัดประสบการณ์ในอาชีพต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้เห็น ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองถนัดและสน ใจ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานอาชีพ เห็นคุณค่าของงานอาชีพสุจริต และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เช่น การจัดนิทรรศการ บทบาทสมมติ ฯลฯ อันจะนำไปสู่การรู้จักตนเองด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ ศักยภาพ วิสัยทัศน์ แนว โน้มด้านอาชีพที่ต้องการของตลาดแรงงาน ที่เหมาะสมกับความสนใจ ความถนัด และทักษะทางด้านอาชีพก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ

พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมการงานอาชีพและเทคโนโลยีให้ลูกได้อย่างไร?

เวลานี้ เด็กหาความสุขจากการเสพเทคโนโลยีมาก การศึกษาตั้งแต่ในบ้านจะต้องมุ่งเน้นที่จะช่วยให้เด็กมีความสุขจากการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ หรือความสุขจากการสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี เด็กควรจะมีความสุขจากการใช้คอมพิว เตอร์สร้างสรรค์งานต่างๆ ไม่ติดอยู่กับการหาความสุขจากการใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกม ถ้าเด็กมีความสุขจากการศึกษาและสร้างสรรค์แล้ว เด็กจะพ้นจากวิถีทางที่ผิด ซึ่งนี้คือเนื้อแท้สำคัญของการศึกษา เป็นการแก้ปัญหา ทั้งการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ ทั้งพัฒนาจิตใจและพัฒนาเศรษฐกิจ ความเป็นนักศึกษาและสร้างสรรค์ ทำให้ก้าวพ้นไปได้จากความสุขที่ขึ้นต่อสิ่งเสพ สู่อิสรภาพและความสุขที่สูงขึ้นไป เพราะคุณค่าของเทคโนโลยี มิใช่อยู่การได้มีสิ่งเสพบริโภคอำนวยความสะดวกสบาย แต่เทคโนโลยีมีคุณค่าอยู่ที่การพัฒนาคน คือ เป็นเครื่องช่วยเกื้อหนุนอำนวยโอกาสให้คนสามารถพัฒนาศักย ภาพที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีงาม นำชีวิตและสังคม เข้าถึงความสุขและอิสรภาพที่ลึกและกว้างยิ่งขึ้นไป
การศึกษาแท้ เริ่มที่บ้าน โดยพ่อแม่เป็นครูคนแรก ถ้าจะนำเด็กเข้าสู่การพัฒนาที่ถูกทาง เพื่อให้ได้ผลในการเสริมสร้างความใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก ความใฝ่ศึกษา ใฝ่สร้างสรรค์ ความเป็นนักผลิต นักสร้างสรรค์ และพร้อมกันนั้นก็จะได้ผ่อนลดอิทธิพลของค่า นิยมใฝ่เสพ วัฒนธรรมบริโภค ความอ่อนแอ เห็นแก่สะดวกสบาย และวิถีชีวิตที่เปิดกว้างสู่ทางแห่งการเสพยาเสพติด พ่อแม่ทุกบ้านนั่นเองจะต้องเริ่มต้น ถามลูกให้น้อยลงว่า “อยากได้อะไร” แต่ถามลูกให้มากขึ้นว่า “อยากทำอะไร” “อยากรู้ว่าจะทำอย่างไร” และ “จะต้องรู้อะไร” แล้วพ่อแม่ก็คอยหนุนและให้ เพื่อสนองความใฝ่รู้และใฝ่สร้างสรรค์นี้ โดยช่วยโยงการรู้และการสร้างสรรค์นั้นไปเชื่อมต่อกับกุศลให้ได้ต่อไป ด้วยการ ฝึกทำงานในชีวิตประจำวัน อย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อช่วย เหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นผู้สร้าง ผู้ผลิตที่เน้นการปฏิบัติจริงจนเกิดความมั่นใจและภูมิ ใจในผลสำเร็จของงาน ค้นพบความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง ขณะเดียวกันได้เสริมสร้างคุณธรรม จริย ธรรม เจตคติ และลักษณะนิสัยในการทำงาน ที่ประกอบด้วยความซื่อสัตย์ เสียสละ ยุติธรรม ประหยัด ขยัน อดทน รับผิด ชอบ ตรงเวลา รอบคอบ ปลอดภัย คุ้มค่า ยั่งยืน สะอาด ประณีต มีเหตุผล มีมารยาท ช่วยเหลือตนเอง ทำงานบรรลุเป้าหมาย ทำงานถูกวิธี ทำงานเป็นขั้นตอน ทำงานเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ รักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ การทำงานที่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ งานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ งานธุรกิจ และงานอื่น ๆ

เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูควรปลูกฝังการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง เหมาะสมแก่เด็ก ดังนี้
  • เทคโนโลยีเพื่อคุณค่าแท้ที่เสริมคุณภาพชีวิต เด็กจะต้องรู้จักแยกแยะระหว่างคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม คุณค่าแท้ คือ คุณค่าที่สนองความต้องการให้เกิดคุณภาพชีวิต ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเครื่องส่งเสริมการเสพคุณค่าเทียม
  • เทคโนโลยีที่เกื้อหนุนระบบความประสานเกื้อกูลแห่งดุลยภาพ เด็กจะต้องรู้จักประมาณ คือ ความพอดี หรือภาวะสม ดุล แล้วดำเนินชีวิตและปฏิบัติการทั้งหลาย โดยคำนึงถึงดุลยภาพแห่งระบบการดำรงอยู่ของสิ่งทั้งหลาย ที่ดำเนินไปด้วยดี ด้วยความเป็นองค์ประกอบและปัจจัยร่วมที่มาประสานเกื้อกูลกันอย่างพอดี เริ่มตั้งแต่ความเป็นอยู่ประจำวัน การรับประ ทานอาหาร ที่พอเหมาะ พอดีแก่ร่างกาย
  • เทคโนโลยีบนฐานของสัมมาทิฐิ คือ การผลิต การพัฒนา และการใช้เทคโนโลยี จะต้องประกอบด้วยปัญญาที่มองเห็นและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เช่น รู้จักคิดให้เข้าใจถูกต้องในความสุข-ความทุกข์ของมนุษย์ว่าคืออะไร รู้จักและเข้าใจคุณประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี เพื่อใช้เทคโนโลยีในทางที่เป็นคุณ มองธรรมชาติในฐานะเป็นองค์ประกอบร่วมในการดำรงอยู่ของตน ซึ่งจะต้องเกื้อกูลต่อกัน โดยคำนึงอยู่เสมอถึงการรักษาสมดุลและการปรับให้เข้าสู่ความประสานกลมกลืนจนเกิดดุลยภาพที่น่าพอใจ
  • เทคโนโลยีของคนที่เป็นไท คน ผู้มี ผู้ใช้เทคโนโลยีจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า มนุษย์เป็นผู้สร้าง เป็นผู้พัฒนา และเป็นผู้ ใช้เทคโนโลยี มนุษย์จะต้องเป็นนายเทคโนโลยี ให้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยส่งเสริมความดีงามความประเสริฐของมนุษย์ มีสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตน รู้จักบังคับควบคุมตนเอง เป็นคนเข้มแข็ง มีภูมิต้านทานความทุกข์ และความพร้อมที่จะมีความสุขอยู่เสมอ แม้ไม่มีเทคโนโลยี ฉันก็อยู่ได้ ฉันก็สามารถมีความสุขได้ รู้จักที่จะเป็นอิสระจากเทคโนโลยี วางเทคโน โลยีไว้ในฐานะที่ถูกต้อง ให้เทคโนโลยีเป็นส่วนเสริมขึ้นจากการที่ตนเองสามารถหาความได้อยู่แล้ว ทำงานได้อยู่แล้ว ให้มีโอกาสที่จะมีความสุขได้มากขึ้น ทำงานได้มากขึ้น
  • เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าคู่กันไปกับการพัฒนาคุณภาพของคน โดยฝึกให้เด็กมีคุณภาพทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโล ยีที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพที่จะสามารถเป็นอยู่อย่างเป็นอิสระ เป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ มีความรับผิดชอบ ละเอียด รอบคอบ ไม่ประมาท นอกจากจะเป็นนายของเทคโนโลยีแล้ว จะต้องเป็นนายที่สามารถใช้และควบคุมเทคโนโลยีให้ทำงานสนองวัตถุประสงค์ในทางสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย เป็นผลดีแท้จริง ให้เทคโนโลยีเป็นมิตรที่เกื้อกูลของมนุษย์
  • เทคโนโลยีที่สนองจุดหมายของอารยชน การพัฒนาเทคโนโลยีจะต้องเป็นรองและเป็นเครื่องรับใช้การพัฒนาคน ในความหมายที่แท้จริง คือ พัฒนาตัวมนุษย์เองหรือพัฒนาความเป็นมนุษย์ ให้เป็นผู้มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา รู้ที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อชีวิต ต่อสังคม ต่อธรรมชาติที่แวดล้อมตน และต่อสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์เองได้พัฒนาขึ้นมา รวมทั้งเป็นผู้พร้อมที่จะดำเนินการพัฒนาต่างๆ ทุกอย่างเป็นไปในทางที่ไร้โทษ เป็นคุณ เกื้อกูลต่อชีวิต สังคม และธรรมชาติ ทำให้แก้ปัญหาได้ ปลอดพ้นจากปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีส่งเสริมปัญญาที่จะเข้าถึงสัจธรรม เพิ่มพูนคุณธรรม และนำชีวิต สังคม และธรรม ชาติ ให้ดำเนินไปในระบบความสัมพันธ์อันประสานเกื้อกูล ที่ตัวมนุษย์เองจะได้เข้าถึงสุขสันติและอิสรภาพที่แท้จริง
พลศึกษา (อังกฤษphysical education) เป็นวิชาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เชิงทักษพิสัย(psychomotor learning)[1]
ในสมัยหลังนี้ มีแนวโน้มว่า พลศึกษาพัฒนาเป็นกิจกรรมหลายรูปแบบมากขึ้น การสอนให้นักเรียนทำกิจกรรมทางพลศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยช่วยให้นักเรียนมีอุปนิสัยที่ดีต่อการทำกิจกรรมซึ่งจะมีผลสืบเนื่องต่อไปในวัยผู้ใหญ่ด้วย เช่น ครูบางคนสอนเทคนิคที่ช่วยลดความกดดัน เป็นต้นว่า โยคะ และการฝึกหายใจ ที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อกิจกรรมพลศึกษา การสอนให้นักเรียนเล่นกีฬาซึ่งมิใช่ของท้องถิ่นนั้นยังช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น ทั้งยังช่วยนักเรียนเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น เมื่อสอนบทเรียนเกี่ยวกับกีฬาลาครอส(lacrosse) นักเรียนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นเมืองอเมริกันทางแคนาตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลาครอสด้วย

ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์

กาลิเลโอ: บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
คำว่า science ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ ]] เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
  • ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่องRules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม
ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤตशिल्प ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม[1]


คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปริมาณ(จำนวนโครงสร้าง ปริภูมิและ การเปลี่ยนแปลง กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. คำนี้ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่าmathematics มาจากคำภาษากรีก μάθημα (máthema) แปลว่า "วิทยาศาสตร์, ความรู้, และการเรียน" และคำว่า μαθηματικός (mathematikós) แปลว่า "รักที่จะเรียนรู้". ในอเมริกาเหนือนิยมย่อ mathematics ว่า math ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษนิยมย่อว่า maths
ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านทางการวิจัยและการประยุกต์ใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การคิดค้นทางคณิตศาสตร์ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายอยู่ที่การนำไปใช้ทางวิทยาศาสตร์ (ดูคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ และคณิตศาสตร์ประยุกต์)
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์. ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย
เนื่องจากคณิตศาสตร์นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม. ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยจำไม่เป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก. นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ, เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน
นอกจากนี้ นักคณิตศาสตร์หลายคนก็ทำงานเพื่อเป้าหมายเชิงสุนทรียภาพเท่านั้น โดยมองว่าคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์เชิงศิลปะ มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ (ดังเช่น จี. เอช. ฮาร์ดี ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ A Mathematician's Apology) ; แรงผลักดันในการทำงานเช่นนี้ มีลักษณะไม่ต่างไปจากที่กวีและนักปรัชญาได้ประสบ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้. อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์ ในหนังสือ Ideas and Opinions ของเขา
องค์ความรู้ในคณิตศาสตร์รวมกันเป็นสาขาวิชา หลักการเบื้องต้นที่เริ่มจากเลขคณิตไปยังการประยุกต์ใช้งานพื้นฐานของสาขาคณิตศาสตร์ ที่รวมพีชคณิตเรขาคณิต ตรีโกณมิติ สถิติศาสตร์ และแคลคูลัส เป็นหลักสูตรแกนในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะได้มีการพัฒนาและขยายขอบเขตไปอย่างมากมายในช่วงเวลาหลายร้อยปี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ยังคงถูกจัดว่าเป็นสาขาวิชาเดี่ยว ที่มีลักษณะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ
วันวิสาขบูชา


ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6  

วันวิสาขบูชา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ส่วนหนึ่งของ ศาสนาพุทธ สถานีย่อย ประวัติศาสนาพุทธ ศาสดา พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า) จุดมุ่งหมาย นิพพาน ไตรรัตน์ พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์ ความเชื่อและการปฏิบัติ ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา คัมภีร์และหนังสือ พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก หลักธรรมที่น่าสนใจ ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา นิกาย เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน สังคมศาสนาพุทธ ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล การจาริกแสวงบุญ พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ ดูเพิ่มเติม อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ วันวิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า" บทความนี้ใช้ระบบปีพุทธศักราช เพราะเป็นส่วนหนึ่งของบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ พ.ศ. และ/หรือมีการอ้างอิงไปยังพุทธศตวรรษ สำหรับก่อนปี พ.ศ. 2484 นับให้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันแรกของปี วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3] วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย นักเรียนควรทำกิจกรรมในวันวิสาขบูชาอย่างไร นักเรียนควรศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและห้องสมุด กิจกรรมเสนอแนะ ควรไปทำบุญตักบาตรที่วัด การบูรณาการ ภาษาไทย การอ่าน กานเขียน การอ่านออกเสียง อ่านคำยาก อ่านจับใจความ ศิลป วาดภาพ ที่มาแหล่งข้อมูล
วันต่อต้านยาเสพติด


ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน  

"สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ" ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด เชิญสวมเสื้อขาวเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ดังนั้นในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันต่อต้านยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมด้านป้องกัน เช่นการเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การจัดสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น ในฐานะที่ประเทศไทยถือว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ดังนั้นทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐบาลหรือเอกชนควรจะร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยร่วมกันจัดกิจกรรมตามกำลังความสามารถเพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้ปลอดพ้นจากปัญหายาเสพติดและช่วยให้ผู้ที่ได้ตกเป็นทาสยาเสพติดได้มีโอกาสกลับเข้ามาอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุข [Link] สารานุกรมไทย แหล่งที่มา วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528. สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ทุกระดับชั้นและทุกท่านที่สนใจ ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน นักเรียนควรหลีกเลี่ยงสารเสพติดได้อย่างไรบ้าง กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควรศึกษาข้อมูลจากห้องสมุด จากอินเตอร์เน็ต การบูรณาการ ภาษาไทย การอ่านออกเสียง การอ่านคำยาก การอ่านจับใจความ ศิลป วาดภาพ 
พุทธชยันตี


วันสำคัญของชาวพุทธ  

พุทธชยันตี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี หรือคุณหมายถึง พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ส่วนหนึ่งของ ศาสนาพุทธ สถานีย่อย ประวัติศาสนาพุทธ ศาสดา พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้า) จุดมุ่งหมาย นิพพาน ไตรรัตน์ พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์ ความเชื่อและการปฏิบัติ ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา คัมภีร์และหนังสือ พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก หลักธรรมที่น่าสนใจ ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา นิกาย เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน สังคมศาสนาพุทธ ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล การจาริกแสวงบุญ พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ ดูเพิ่มเติม อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ พิธีฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ของชาวศรีลังกา ณ พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธเจ้า[1] หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ [2] โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี[3] แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง[4] เนื้อหา [ซ่อน] 1 ประวัติ 2 เชิงอรรถ 3 อ้างอิง 4 ดูเพิ่ม 5 แหล่งข้อมูลอื่น [แก้]ประวัติ คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกา[5] และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ (2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถาน และมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศ พม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย[6][7] เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกร นำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระนี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย [8] ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎก[9] สำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วย[10] โดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ[11]1 มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม[12] พระราชบัญญัติล้างมลทิน[13] มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย[14] นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ"[15] ทำให้คำว่า "พุทธชยันตี" ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ทุกระดับชั้น การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย นักเรียนควรศึกษาเรื่องความสำคัญของ พุทธบัยตี หรือไม่เพราะเหตุใด กิจกรรมเสนอแนะ ควรศึกษา ข้อมูลจากห้องสมุด และจากอินเตอร์เน็ต การบูรณาการ ภาษาไทย อ่านคำยาก อ่านออกเสียง อ่านจับใจความ ศิลป วาดภาพ ที่มาแหล่ง
 

                   หลักการใช้ภาษา 


     การใช้ภาษาที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถสื่อสารให้บรรลุวัตถุประสงค์และสร้างความประทับใจแก่ผู้รับสาร ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งคือการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับการสื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารควรศึกษาและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องประเภทของภาษา ความหมายของคำและประเภทของประโยค


หลักการใช้ภาษา ประกอบด้วย

  1. ภาษา
  2. คำ
  3. ประโยค                                                                                                                                               ภาษา

  1. ภาษา หมายถึง วิธีที่มนุษย์ใช้แสดงความรู้สึกและสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ภาษาจำแนกตามวิธีการแสดงออกได้ ๒ ประเภท คือ
    1. วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ เสียงพูดหรือเครื่องหมายแทนเสียงพูดที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในสังคมหนึ่ง ๆ
    2. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช่การพูดเป็นถ้อยคำ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นสิ่งที่สามารถสื่อให้เกิดความหมาย ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตรงกัน เช่น ภาษาท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษากาย มี ๗ ประเภท คือ
    • เทศภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากระยะห่างระหว่างบุคคลและสถานที่ที่ใช้ในการสื่อสารกัน เช่น การโน้มตัวเดินผ่านผู้ใหญ่ให้ห่างมากที่สุดเพื่อแสดงความมีสัมมาคารวะ
    • กาลภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากช่วงเวลาในการสื่อสาร เช่น นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา แสดงถึงความตั้งใจ เอาใจใส่ และให้เกียรติผู้สอน
    • เนตรภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากสายตา เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น การหลบสายตา เพราะกลัว หรือเขินอาย หรือมีความผิดไม่กล้าสู้หน้า
    • สัมผัสภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากการสัมผัส เช่น การโอบกอด การจับมือ
    • อาการภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การไหว้ การยิ้ม การเม้มปาก การนั่งไขว่ห้าง การยืนเคารพธงชาติ
    • วัตถุภาษา อวันภาษาที่รับรู้จากการเลือกใช้วัตถุเพื่อสื่อความหมาย เช่น เครื่องประดับ การแต่งบ้าน การมอบดอกไม้ การ์ดอวยพร
    • ปริภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากการใช้น้ำเสียงแสดงออกพร้อมกับถ้อยคำนั้น ทำให้สามารถเข้าใจความหมายของถ้อยคำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยเน้นให้เห็นถึงเจตนา หรือลักษณะของผู้ส่งสารว่าพอใจ โกรธ ฯลฯ เช่น ความเร็ว จังหวะ การเน้นเสียง ลากเสียง ความดัง ความทุ้มแหลม ในกรณีของภาษาเขียนอวัจนภาษาที่ปรากฏได้แก่ ลายมือ การเว้นวรรคตอน การย่อหน้า ขนาดตัวอักษร ฯลฯ                                                                                                                                                   การสื่อสารแต่ละครั้งย่อมใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาควบคู่กันไป ซึ่งอวัจนภาษาที่ใช้สัมพันธ์กับวัจนภาษาใน ๕ ลักษณะด้วยกัน คือ
      1. ตรงกัน อวัจนภาษามีความหมายตรงกับถ้อยคำ เช่น การส่ายหน้าปฏิเสธพร้อมพูดว่า “ไม่ใช่”
      2. แย้งกัน อวัจนภาษาที่ใช้ขัดแย้งกับถ้อยคำ เช่น การกล่าวชมว่า วันนี้แต่งตัวสวย แต่สายตามองที่อื่น
      3. แทนกัน อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนวัจนภาษา เช่น การกวักมือแทนการเรียก การปรบมือแทนการกล่าวชม
      4. เสริมกัน อวัจนภาษาที่ช่วยเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักของถ้อยคำเช่นเด็กบอกว่ารักแม่เท่าฟ้าพร้อมกับกางแขนออก
      5. เน้นกัน อวัจนภาษาช่วยเน้นหรือเพิ่มน้ำหนักให้ถ้อยคำ เช่น การบังคับเสียงให้ดังหรือค่อยกว่าปกติ